วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การศรัทธาต่อวันสิ้นโลก

การศรัทธาต่อวันสุดท้ายนี้จะครอบคลุมการศรัทธาต่อสัญญาณวันสิ้นโลก และสัญญาณต่างๆที่จะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ศรัทธาต่อความตายและการทดสอบในกุโบรฺ ไม่ว่าจะเป็นความทรมานหรือความผาสุก ศรัทธาต่อการเผ่าสังข์ และการบังเกิดขึ้นมาอีกครั้งของทุกสิ่งที่ถูกฝังอยู่ในกุโบร และสภาพความน่าสะพรึงกลัวและตื่นตระหนกในวันกิยามะฮฺ และรายละเอียดต่างๆในวันแห่งการชุมนุม (มะหฺชัร) และการเปิดเผยสมุดบันทึกประจำตัวของแต่ละคน และการตั้งตราชั่ง ศรัทธาต่อสะพานข้าม(ศิรอฏ) และบ่อน้ำของท่านนบี การให้ความ ช่วยเหลือ(ชะฟาอะฮฺ) และอื่นๆ และศรัทธาต่อสวนสวรรค์และความสุขสบายของมัน และความสุขที่ปราบปลื้มอย่างที่สุด นั่นคือการได้เห็นพระพักตร์ของอัลลอฮฺ และศรัทธาต่อนรกและความทรมานของมัน ซึ่งความทรมานที่เจ็บปวดที่สุดคือการถูกห้ามมิให้พบกับองค์อภิบาลของเขา

“ครั้นเมื่อกำหนดเวลา(อายุขัย)ของพวกเขาได้มาถึง พวกเขาจะไม่สามารถร้องขอให้ล่าช้า(แม้แต่)ชั่วโมงเดียว และจะไม่สามารถร้องขอให้เร็วขึ้น (สักชั่วโมงหนึ่ง)”

และเราต้องศรัทธามั่นต่อการทดสอบในหลุมศพ นั่นคือผู้ตายจะถูกสอบสวน –หลังจากที่ถูกฝังเรียบร้อยแล้ว- เกี่ยวกับองค์อภิบาลของเขา ศาสนาของเขา และนบีของเขา ดังนั้นอัลลอฮฺจะทรงทำให้ชาวมุอฺมินผู้ศรัทธามีจุดยืนที่มั่นคงด้วยคำตอบที่มั่นคงและชัดเจน โดยมุอฺมินผู้ศรัทธาจะตอบว่า “องค์อภิบาลของเราคืออัลลอฮฺ ศาสนาของเราคือิสลาม และนบีของเราคือมุหัมมัด” และอัลลอฮฺจะทรงทำให้บรรดาผู้อธรรมหลงทาง โดยพวกเขาจะตอบว่า
 “อา...อา... ฉันไม่รู้” ส่วนผู้กลับกลอก(มุนาฟิก)และผู้ที่สงสัย(ในสัจธรรมของอิสลาม) เขาจะตอบว่า “ฉันไม่รู้ ฉันได้ยินคนกล่าวบางอย่าง ดังนั้นฉันจึงกล่าวตามพวกเขา”

การศรัทธาต่อการกำหนดสภาวะ

  ภาคผลที่ประเสริฐของการศรัทธาต่อการกำหนดสภาวะ                

1. การมอบหมายต่ออัลลอฮ์   เมื่อกระทำสิ่งใดด้วยเหตุและผลโดยที่ไม่ขึ้นกับอารมณ์ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยกฎกำหนดสภาวการณ์แห่งอัลลอฮ์ 

2. ไม่ควรประหลาดใจต่อการได้รับความยินดี   เพราะนั่นเป็นความโปรดปรานที่มาจากอัลลอฮ์   โดยที่พระองค์ทรงกำหนดจากสาเหตุของความดีงามและความสำเร็จ เพราะความประหลาดใจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลืมการขอบคุณต่อความโปรดปราน

3. ความสงบของจิตใจที่เกิดขึ้นเป็นกฎกำหนดแห่งอัลลอฮ์   จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล ต่อการพลัดพรากจากไปของสิ่งที่เป็นที่รักยิ่งหรือต่อความชิงชัง ความเลวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะนั่นเป็นกฎกำหนดสภาวะการณ์จากอัลลอฮ์   ผู้ทรงอำนาจแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน ไม่มีทางหลบหลีกพ้นไปได้

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การศรัทธาต่อมาลาอีกะหฺ

        การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์
   ๑. ศรัทธาถึงการมีอยู่ ของมลาอิกะฮ์
   ๒. ศรัทธาต่อมลาอิกะฮ์ ที่ได้บอกไว้ในอัลกุรอานและฮะดิษ และที่ไม่ได้กล่าวไว้   
   ๓. ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ ที่ทราบถึงคุณลักษณะ และที่ไม่ทราบ  เช่น ลักษณะท่านญิบรีล

                  “ท่านนะบี   ได้เล่าว่าแท้จริงท่านได้เห็น ญิบรีล อะลัยฮิสลาม ในลักษณะหนึ่งซึ่งถูกสร้างมาในลักษณะนั้นมี 600 ปีก จรดขอบฟ้า”
          

               มลาอิกะฮ์
         สามารถจำแลงร่างตามคำสั่งของอัลลอฮ์   เมื่อครั้งที่พระองค์ได้ส่งญิบรีลไปยังพระนางมัรยัม โดยจำแลงร่างเหมือนมนุษย์ และในขณะที่มลาอิกะฮ์ได้มาหาท่านนะบี   ในขณะนั่งอยู่ร่วมกับบรรดาศอฮาบะฮ์ของท่าน มีผู้ชายแข็งแรงใส่เสื้อสีขาวสะอาด ผมสีดำ ไม่มีร่องรอยของการเดินทาง ในหมู่ศอฮาบะฮ์ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ชายผู้นั้นได้นั่งลงข้างท่านนะบี   โดยเอาหัวเข่าทั้งสองชิดหัวเข่าของท่าน และวางฝ่ามือทั้งสองไว้บนน่องของท่าน ชายผู้นั้นได้ถามท่านเกี่ยวกับ อัล อิสลาม การศรัทธา จริยธรรม วันกิยามะฮ์ และสัญญาณวันกิยามะฮ์  ท่านนะบี   ได้ตอบคำถามชายผู้นั้นไป หลังจากนั้นท่านนะบี   ได้ถามบรรดาศอฮาบะฮ์ว่า รู้ไหมชายผู้นั้นคือใคร บรรดาศอฮาบะฮ์ตอบว่า อัลลอฮ์รู้และเราะซูลของอัลลฮ์เท่านั้นที่รู้ ท่านะบีจึงตอบว่า นี่คือ ญิบรีล (มลาอิกะฮ์) เขาได้มาหาและสอนเรื่องศาสนาให้กับพวกท่าน

การศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

    การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ในด้านความเป็นพระเจ้า            
                 หมายถึง จำเป็นที่มุสลิมจะต้องศรัทธาว่าอัลลอฮ์ คือ ผู้ทรงบังเกิด ผู้ทรงบริหาร ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพ ผู้ทรงให้ชีวิต ผู้ทรงปลิดชีวิต ผู้ทรงดูแลคุ้มครอง ผู้ทรงสร้างสวรรค์ เป็นต้น

2. การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ในด้านการเคารพภักดี            
                  หมายความว่า จำเป็นที่มุสลิมจะต้องทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์องค์เดียว และมุสลิมจะต้องทำการเคารพภักดีในทุกประเภทของการสั่งให้เคารพภักดีของอัลลอฮ์ เช่น การปฏิบัติตามรูก่นอิสลาม 5 ประการ รูก่นอีหม่าน 6 ประการ อีหสาน การขอดุอาอ ความกลัว ความหวัง การมอบความไว้วางใจ การเกรงกลัว การขอความช่วยเหลือ การบนบาน การขอความคุ้มครอง เป็นต้น

3. การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ในด้านพระนาม
                                                         และคุณลักษณะของอัลลอฮ์
              คือ จำเป็นที่มุสลิมทุกคนจะต้องศรัทธาว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีพระนาม และคุณลักษณะที่สมบูรณ์ ปราศจากความบกพร่อง ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พร้อมกันนี้ก็ไม่อนุญาตให้ปฏิเสธ หรือนำเอาลักษณะของพระองค์ไปเปรียบเทียบกับลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง

การปฎิญาณตน


        มุสลิม คือผู้นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคน ไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ สามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน ผู้ปฏิญาณตนที่เป็นชายเมื่อปฏิญาณแล้วต้องขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศด้วย เรียกว่า การทำสุนัต และปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม(ทั้งวาญิบ และ ฮะรอม

        คำปฏิญาณตน การปฏิญาณตนเข้ารับมุสลิมเป็นการประกาศตนว่ามีความศรัทธาใน  ศาสนาอิสลามและพร้อมจะปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้กล่าวด้วยความจริงใจและมีศรัทธามั่นคง พร้อมจะปฏิบัติตามหลักศาสนา ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว ทั้งนี้การกล่าวปฏิญาณนิยมกล่าวต่อหน้าผู้รู้ทางศาสนาและมีพยานอื่นอย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้ ผู้รู้จะได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องได้

คำปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามคือการกล่าวคำเป็นภาษาอาหรับว่า "อัชฮะดุ อัลลา อิลาหะ อินลัลลอหฺ วะอัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัร รอซูลุลลอหฺ" มีความหมายในภาษาไทยว่า "ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺ และข้าขอปฏิญาณว่า นบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตแห่งพระองค์"

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การละหมาด 5 เวลา

การละหมาดทั้ง  5  เวลาซึ่งถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันถือเป็นความพิเศษเฉพาะของประชาชาตินี้  ซึ่งในประชาชาติก่อน ๆ นั้นการละหมาดมิได้ถูกรวมเช่นนี้มาก่อน
การละหมาดซุบฮิเป็นการละหมาดของท่านนบีอาดัม  (อ.ล.) 
การละหมาดดุฮฺริเป็นการละหมาดของนบีดาวุด  (อ.ล.)
การละหมาดอัศริเป็นการละหมาดของนบีสุลัยมาน  (อ.ล.)
การละหมาดมัฆริบเป็นการละหมาดของนบียะอฺกู๊บ  (อ.ล.)
และการละหมาดอิชาอฺเป็นการละหมาดของนบียูนุส  (อ.ล.)
 
ท่านอิหม่ามอัรรอฟิอีย์  (ร.ฮ.) 
ได้ระบุเอาไว้บ้างก็ระบุว่าละหมาดดุฮฺริ  เป็นของนบีอิบรอฮีม  (อ.ล.)  ละหมาดอัศริเป็นของนบียูนุส  (อ.ล.)  บ้างก็ว่าเป็นของนบีอุซัยร์  (อ.ล.)  ละหมาดมัฆริบเป็นของนบีดาวูด  (อ.ล.)  บ้างก็ว่าเป็นของนบีอีซา  (อ.ล.)  ซึ่งท่านละหมาด  2  รอกอะฮฺเพื่อเป็นการไถ่ถอน  (กัฟฟาเราะฮฺ)  สิ่งที่ถูกอ้างไปยังท่านและอีก  1  รอกอะฮฺเพื่อเป็นการไถ่ถอน  (กัฟฟาเราะฮฺ)  สิ่งที่ถูกอ้างไปยังท่านหญิงมัรยัม  (อ.ล.)  มารดาของท่าน  และบ้างก็ว่าการละหมาดอิชาอฺ  เป็นของนบีมูซา  (อ.ล.)  บ้างก็ว่าการละหมาดอิชาอฺเป็นเวลาละหมาดเฉพาะสำหรับท่านนบีมุฮำหมัด  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องที่สุด 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทําฮัจหฺ

 

การประกอบพิธีฮัจญ์

ฮัจย์
1. เป็นรูกนที่ 5 ของรูกนอิสลาม ซึ่งกำหนดเป็น ฟัรดู ( ศาสนกิจระดับบังคับ ) สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถ ( มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบพิธีฮัจย์ เงิน อาหาร ) ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะฮ . ในเดือน ซูลฮิจยะฮ . จำนวน ๑ ครั้งในชั่วชีวิต ( ส่วนจำนวนที่ประกอบฮัจย์มากกว่า ๑ ครั้ง จะไม่ถือเป็น วายิบ แต่ส่งเสริมให้กระทำ )

2 เป็นศาสนพิธีในอิสลามที่กำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถจะต้องประกอบ พิธีฮัจย์ หนึ่งครั้งในชั่วชีวิตของมุสลิมแต่ละคน

การจ่ายซะกาตหรือออกซะกาต

การจ่ายหรือออกซะกาต

มารยาทในการจ่ายซะกาต
          ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ ให้ผู้จ่ายมองว่าสิ่งที่ให้ไปเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพื่อให้พ้นจากความลำพองใจ และพยายามปิดบังเพื่อให้พ้นจากการโอ้อวด แต่เปิดเผยบ้างเป็นบางครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เห็นสิ่งที่เป็นวาญิบนี้(ซะกาต) และเป็นการกระตุ้นให้คนร่ำรวยได้ปฏิบัติตาม และต้องไม่ทำลาย(ผลบุญ)มันด้วยการลำเลิกและการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับ

ผู้รับซะกาตที่ดีที่สุด
          ที่ดีที่สุดก็คือให้ผู้จ่ายซะกาตเลือกจ่ายแก่คนที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากที่สุด คนที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุด มีความจำเป็นมากที่สุด และเลือกให้ทานของเขาแก่คนที่จะทำให้ทานนั้นเจริญงอกงามจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิด มีความยำเกรง เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ คนยากจนที่ไม่ยอมขอ ครอบครัวใหญ่ที่มีความขัดสนเป็นต้น โดยที่เขาควรที่จะจ่ายซะกาตหรือให้ทานก่อนที่จะมีสิ่งกีดขวางมา(ทำให้ไม่สามารถจ่ายหรือให้ได้) และเมื่อใดที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะรับซะกาตมากขึ้นในบุคคลหนึ่งๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาคู่ควรในการรับซะกาตมากกว่า เช่นยากจนและเป็นญาติ ยากจนและเป็นผู้กำลังศึกษา เป็นต้น

การถือศิลอด

         ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอดมีกฎเกณฑ์ 5 ประการ

1.       ต้องเป็นมุสลิม
2.       มีอายุครบกำหนดตามศาสนบัญญัติ
3.       มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์  ไม่วิกลจริต
4.       มีร่างกายแข็งแรง สามารถถือศีลอดได้ตลอดทั้งวัน
5.       ถ้าเป็นหญิงต้องไม่มีประจำเดือน  หรือมีเลือดออกมาจากการคลอดบุตรในขณะนั้น ซึ่งถูกห้ามไม่ให้ถือศีลอด  แต่ต้องชดใช้ตามวันที่ขาดไปในภายหลัง
      ข้อปฏิบัติในการถือศีลอด

1.       ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุกๆคืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึงแสงอรุณขึ้น โดยอ่านและเนียต ดังนี้
 นาวัยตูเซามาฆ่อดิน อันอาด้าอี ฟัรดีชะฮฺรีรอมาฎอน ฮาซี่ฮิซซานาตี ลิ้ลลาฮีตาอ้าลา

เนียตว่า   ข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา

2.       ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด
       ข้อห้ามขณะถือศีลอด

1.       ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา
2.       ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3.       ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4.       ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนา
ข้อห้ามเหล่านี้ ห้ามเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนน้ำลายในปากกลืนได้ไม่ห้าม
       สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

1.       กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดจากข้อห้าม 4 ข้อที่กล่าวมาแล้ว
2.       เสียสติ  เป็นลม หรือปราศจากความรู้สึกผิดชอบ
3.       มีประจำเดือนหรือเลือดหลังการคลอดบุตร
4.       หลุดพ้นจากศาสนาอิสลาม (ตกมุรตัร)
ผู้ที่เสียศีลอด ต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักอิสลาม 5ประการ หลักศรัทธา 6ประการ

หลักอิสลาม  5 ประการ
     
     1  ปฎิญานตน ว่ามีพระเจ้าหนึ่งเดียว
     2  ละมาด  5เวลา
     3  ถือศิลอด
     4  จ่ายสกาด
     5   ไปทำฮัจหฺ

หลักศรัทธา  6 ประการ

     1  ศรัทธา ต่ออัลลอฮฺ
     2  ศรัทธา ต่อบรรณดามาลาอีกะฮฺ
     3  ศรัทธา ต่อบรรณดาคำภี
     4  ศรัทธา ต่อบรรณดานีบ
     5  ศรัทธา ต่อความดี และความชัว
     6  ศรัทธา ต่อวันสิ้นโลก