วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การละหมาด 5 เวลา

การละหมาดทั้ง  5  เวลาซึ่งถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันถือเป็นความพิเศษเฉพาะของประชาชาตินี้  ซึ่งในประชาชาติก่อน ๆ นั้นการละหมาดมิได้ถูกรวมเช่นนี้มาก่อน
การละหมาดซุบฮิเป็นการละหมาดของท่านนบีอาดัม  (อ.ล.) 
การละหมาดดุฮฺริเป็นการละหมาดของนบีดาวุด  (อ.ล.)
การละหมาดอัศริเป็นการละหมาดของนบีสุลัยมาน  (อ.ล.)
การละหมาดมัฆริบเป็นการละหมาดของนบียะอฺกู๊บ  (อ.ล.)
และการละหมาดอิชาอฺเป็นการละหมาดของนบียูนุส  (อ.ล.)
 
ท่านอิหม่ามอัรรอฟิอีย์  (ร.ฮ.) 
ได้ระบุเอาไว้บ้างก็ระบุว่าละหมาดดุฮฺริ  เป็นของนบีอิบรอฮีม  (อ.ล.)  ละหมาดอัศริเป็นของนบียูนุส  (อ.ล.)  บ้างก็ว่าเป็นของนบีอุซัยร์  (อ.ล.)  ละหมาดมัฆริบเป็นของนบีดาวูด  (อ.ล.)  บ้างก็ว่าเป็นของนบีอีซา  (อ.ล.)  ซึ่งท่านละหมาด  2  รอกอะฮฺเพื่อเป็นการไถ่ถอน  (กัฟฟาเราะฮฺ)  สิ่งที่ถูกอ้างไปยังท่านและอีก  1  รอกอะฮฺเพื่อเป็นการไถ่ถอน  (กัฟฟาเราะฮฺ)  สิ่งที่ถูกอ้างไปยังท่านหญิงมัรยัม  (อ.ล.)  มารดาของท่าน  และบ้างก็ว่าการละหมาดอิชาอฺ  เป็นของนบีมูซา  (อ.ล.)  บ้างก็ว่าการละหมาดอิชาอฺเป็นเวลาละหมาดเฉพาะสำหรับท่านนบีมุฮำหมัด  (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องที่สุด 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การทําฮัจหฺ

 

การประกอบพิธีฮัจญ์

ฮัจย์
1. เป็นรูกนที่ 5 ของรูกนอิสลาม ซึ่งกำหนดเป็น ฟัรดู ( ศาสนกิจระดับบังคับ ) สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถ ( มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปัจจัยที่จำเป็นในการประกอบพิธีฮัจย์ เงิน อาหาร ) ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ นครมักกะฮ . ในเดือน ซูลฮิจยะฮ . จำนวน ๑ ครั้งในชั่วชีวิต ( ส่วนจำนวนที่ประกอบฮัจย์มากกว่า ๑ ครั้ง จะไม่ถือเป็น วายิบ แต่ส่งเสริมให้กระทำ )

2 เป็นศาสนพิธีในอิสลามที่กำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถจะต้องประกอบ พิธีฮัจย์ หนึ่งครั้งในชั่วชีวิตของมุสลิมแต่ละคน

การจ่ายซะกาตหรือออกซะกาต

การจ่ายหรือออกซะกาต

มารยาทในการจ่ายซะกาต
          ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ ให้ผู้จ่ายมองว่าสิ่งที่ให้ไปเป็นสิ่งที่เล็กน้อยเพื่อให้พ้นจากความลำพองใจ และพยายามปิดบังเพื่อให้พ้นจากการโอ้อวด แต่เปิดเผยบ้างเป็นบางครั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เห็นสิ่งที่เป็นวาญิบนี้(ซะกาต) และเป็นการกระตุ้นให้คนร่ำรวยได้ปฏิบัติตาม และต้องไม่ทำลาย(ผลบุญ)มันด้วยการลำเลิกและการก่อความเดือดร้อนแก่ผู้รับ

ผู้รับซะกาตที่ดีที่สุด
          ที่ดีที่สุดก็คือให้ผู้จ่ายซะกาตเลือกจ่ายแก่คนที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากที่สุด คนที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุด มีความจำเป็นมากที่สุด และเลือกให้ทานของเขาแก่คนที่จะทำให้ทานนั้นเจริญงอกงามจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิด มีความยำเกรง เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ คนยากจนที่ไม่ยอมขอ ครอบครัวใหญ่ที่มีความขัดสนเป็นต้น โดยที่เขาควรที่จะจ่ายซะกาตหรือให้ทานก่อนที่จะมีสิ่งกีดขวางมา(ทำให้ไม่สามารถจ่ายหรือให้ได้) และเมื่อใดที่มีคุณสมบัติที่คู่ควรจะรับซะกาตมากขึ้นในบุคคลหนึ่งๆ ก็จะยิ่งทำให้เขาคู่ควรในการรับซะกาตมากกว่า เช่นยากจนและเป็นญาติ ยากจนและเป็นผู้กำลังศึกษา เป็นต้น

การถือศิลอด

         ผู้ที่จำเป็นต้องถือศีลอดมีกฎเกณฑ์ 5 ประการ

1.       ต้องเป็นมุสลิม
2.       มีอายุครบกำหนดตามศาสนบัญญัติ
3.       มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์  ไม่วิกลจริต
4.       มีร่างกายแข็งแรง สามารถถือศีลอดได้ตลอดทั้งวัน
5.       ถ้าเป็นหญิงต้องไม่มีประจำเดือน  หรือมีเลือดออกมาจากการคลอดบุตรในขณะนั้น ซึ่งถูกห้ามไม่ให้ถือศีลอด  แต่ต้องชดใช้ตามวันที่ขาดไปในภายหลัง
      ข้อปฏิบัติในการถือศีลอด

1.       ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุกๆคืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึงแสงอรุณขึ้น โดยอ่านและเนียต ดังนี้
 นาวัยตูเซามาฆ่อดิน อันอาด้าอี ฟัรดีชะฮฺรีรอมาฎอน ฮาซี่ฮิซซานาตี ลิ้ลลาฮีตาอ้าลา

เนียตว่า   ข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา

2.       ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด
       ข้อห้ามขณะถือศีลอด

1.       ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา
2.       ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3.       ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4.       ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนา
ข้อห้ามเหล่านี้ ห้ามเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนน้ำลายในปากกลืนได้ไม่ห้าม
       สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด

1.       กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดจากข้อห้าม 4 ข้อที่กล่าวมาแล้ว
2.       เสียสติ  เป็นลม หรือปราศจากความรู้สึกผิดชอบ
3.       มีประจำเดือนหรือเลือดหลังการคลอดบุตร
4.       หลุดพ้นจากศาสนาอิสลาม (ตกมุรตัร)
ผู้ที่เสียศีลอด ต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง